เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนพลังงานสูง

February 5, 2021

การพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนในประเทศไทย

February 5, 2021

ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) นำทีมนักวิจัยของสถาบันฯ ให้การต้อนรับบริษัทจากประเทศเกาหลี

January 24, 2021
ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) นำทีมนักวิจัยของสถาบันฯ ให้การต้อนรับบริษัทจากประเทศเกาหลี ได้แก่ KAFAT , VITZRO Tech , KR TECH , Mobiis , Dawon SYS และ PAL รวมไปถึงบริษัทเอกชนในประเทศไทย ได้แก่ MRP Engineering และ NSF Mold and Part เมื่อวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เนื่องในโอกาสเยี่ยมชมสถาบันฯ และหารือความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างสถาบันฯ และ KAFAT สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเครื่องเร่งอนุภาคและระบบลำเลียงแสง รวมถึงถ่ายโอนความรู้และพัฒนาบุคลากรระหว่างองค์กร ของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV    

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มอบแคปซูลสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อความดันลบ ให้กับโรงพยาบาลขามทะเลสอ

January 24, 2021
ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ผู้จัดการโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และห้องปฏิบัติการ นายเมธี โสภณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (กิจการพิเศษ) / หัวหน้าส่วนความปลอดภัย นางสาวมาลี อัตตาภิบาล ผู้จัดการทั่วไปและประสานงานโครงการ และคณะ ร่วมใจต้านภัยโควิด-19 มอบแคปซูลสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อความดันลบ ให้กับโรงพยาบาลขามทะเลสอ ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ทพ.พิศิษฐ์ สมผดุง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขามทะเลสอ และคณะ เป็นตัวแทนในการรับมอบ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563    

ซินโครตรอน มอบตู้สำหรับตรวจและคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อแบบความดันบวก ให้กับโรงพยาบาลปักธงชัย

January 24, 2021
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) นำโดย นายสำเริง ด้วงนิล รองผู้อำนวยการสนับสนุนทางเทคนิค นายเด่นชาย บำรุงเกาะ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบเชิงกลและสาธารณูปโภค ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ผู้จัดการโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และห้องปฏิบัติการ นางสาวมาลี อัตตาภิบาล ผู้จัดการทั่วไปและประสานงานโครงการ และคณะ ร่วมใจต้านภัยโควิด-19 มอบตู้สำหรับตรวจและคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อแบบความดันบวกที่ผลิตโดยวิศวกรของสถาบัน ให้กับโรงพยาบาลปักธงชัย  ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นพ.สมบัติ วัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปักธงชัย เป็นตัวแทนในการรับมอบตู้สำหรับตรวจและคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อแบบความดันบวกดังกล่าว      

ซินโครตรอนเปิดบ้าน โชว์ผลงานวิจัยเด่น สร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคเอกชน หวัง ร่วมผลักดันโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV ณ EECi

January 24, 2021
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จัดงาน Open House โครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และห้องปฏิบัติการ โชว์ศักยภาพและความพร้อมในการมีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน เครื่องใหม่ระดับพลังงาน 3 GeV              โดยมี ศาสตรจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 6 ก.ย. 2562 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ. นครราชสีมา งาน open house ที่จัดขึ้นดังกล่าว มุ่งหวังให้ภาคอุตสาหกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV นำไปสู่การพัฒนางานวิจัยและผลิตภัณฑ์ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ นำไปสู่การแก้ไขปัญหา ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพิ่มศักยภาพให้ภาคการผลิต และการให้บริการ นอกจากนี้เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม เกิดความสนใจร่วมมือและร่วมทุนกับโครงการฯ อีกทั้งเพื่อให้บริษัทคู่ค้าให้ความร่วมมือในการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeVและห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งยังเกิดการพบปะกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันฯ และหน่วยงานจากภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างเครือข่ายกับสถาบันฯ ในอนาคต

ซินโครตรอนต้อนรับ ดร.เอนก รัฐมนตรี อว. ในโอกาสตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ EECI พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมฐานชีวภาพไทยด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

January 23, 2021
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2563 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. อเนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ EECi และเยี่ยมชมสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) รวมถึงเยี่ยมชมสวนทุเรียนใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้วยการนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) มาพัฒนาเป็น “ระบบติดตามสภาวะแวดล้อมและให้น้ำทุเรียน” โดยมี ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และคณะ ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม ณ พื้นที่ก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง     ศ. ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าวถึงการลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ EECi และเยี่ยมชมในครั้งนี้ว่า เป็นงานแรกหลังจากดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว.

นายกประยุทธ์ ลงพื้นที่ เป็นประธานเปิดหน้าดิน เดินหน้าลุย ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ EECi วังจันทร์วัลเลย์ ระยอง

January 23, 2021
ในวันนี้ (27 ก.พ. 62) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ พัฒนาพื้นที่ วังจันทร์วัลเลย์ ที่ตั้งโครงการ เขตนวัตกรรมในพื้นที่โครงการพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation : EECi) ณ พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยโครงการวังจันทร์วัลเลย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA) ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถการแข่งขันของประเทศ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้เป็นเขตนวัตกรรมพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่เชื่อมโยงทั้งการศึกษาที่เป็นแหล่งบ่มเพาะนักวิจัยด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในพิธีเปิดหน้าดิน ซึ่งจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับก่อสร้างโครงการ EECi โดยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับสูง ขนาด 3 GeV เครื่องใหม่ ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ซินโครตรอน เดินหน้าเครื่องซินโครตรอนเครื่องใหม่ ระดับพลังงาน 3 GeV

January 23, 2021
  ซินโครตรอน เดินหน้าเครื่องซินโครตรอนเครื่องใหม่ ระดับพลังงาน 3 GeV เป็นศูนย์กลางวิจัยด้านแสงซินโครตรอนชั้นแนวหน้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในอนาคต มุ่งเน้นงานวิจัยด้านการแพทย์ – เกษตร – อุตสาหกรรม และอื่น ๆ ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก: EECi “เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน”  ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญและได้รับการยอมรับจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ให้เป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่สามารถสร้างคุณประโยชน์มากมายมหาศาลต่องานวิจัยทางด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และด้านอื่น ๆ เพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาทุนมนุษย์ เป็นต้น     โดยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่จะจัดสร้างใหม่ มีค่าระดับพลังงาน 3 GeV ขนาดเส้นรอบวงประมาณ 321.3 เมตร โดยใช้เทคโนโลยี Double Triple Bend Achromat (DTBA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนี้จะส่งผลให้แสงซินโครตรอนที่ได้มีความสว่างจ้าของแสงมากกว่าเดิม 1 ล้านเท่า รวมถึงสามารถรองรับระบบลำเลียงแสงได้สูงถึง 22 ระบบ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางงานวิจัยได้หลากหลาย สถานที่ตั้งที่เหมาะสมทางยุทธศาสตร์ของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนนั้น จะตั้งอยู่ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Eastern Economic